หุ้นไทยมีกี่ประเภท ศึกษาเรียนรู้ก่อนลงทุน

ประเทศไทยเป็นผู้เล่นหลักในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน โดยตลาดหุ้นทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญในภูมิภาค ตลาดหุ้นไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ SET และ MAI (Market for Alternative Investment) ภายในตลาดทั้งสองนี้มีหุ้นหลายประเภทที่นักลงทุนสามารถซื้อได้ บทความนี้จะกล่าวถึงหุ้นไทยประเภทต่างๆ สำหรับนักลงทุน

หุ้นประเภทหลักที่ซื้อขายใน SET (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) คือตราสารทุนซึ่งแสดงถึงความเป็นเจ้าของในบริษัท ตราสารทุนมักให้เงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียง

หุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์ตราสารทุนประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ และออกโดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นบุริมสิทธิเป็นตราสารทุนอีกประเภทหนึ่งที่อาจให้เงินปันผลหรือผลประโยชน์อื่นที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นสามัญ แต่โดยทั่วไปจะไม่มีสิทธิออกเสียง

นอกจากหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิแล้ว ยังมีใบสำคัญแสดงสิทธิและหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุญาตให้นักลงทุนซื้อหุ้นจำนวนหนึ่งในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ในขณะที่หุ้นกู้แปลงสภาพอนุญาตให้นักลงทุนแปลงพันธบัตรเป็นหุ้นได้ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

ใน MAI (Market for Alternative Investment) มีหลักทรัพย์หลายประเภทให้เลือก รวมถึง REIT (Real Estate Investment Trusts), ETF (Exchange Traded Funds), กองทุนปิด, ตราสารอนุพันธ์ และกองทุนร่วมลงทุน REITs ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ฯลฯ

ในขณะที่ ETF ติดตามดัชนีอ้างอิงหรือตะกร้าสินทรัพย์ เช่น สินค้าโภคภัณฑ์หรือสกุลเงิน กองทุนปิดเปิดให้ลงทุนในหลากหลายประเภท เช่น หุ้น พันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน ฯลฯ ในขณะที่ตราสารอนุพันธ์ช่วยให้นักลงทุนสามารถคาดเดาทิศทางในอนาคตของราคาสินทรัพย์ได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของ ในที่สุด กองทุนร่วมทุนให้เงินทุนแก่ธุรกิจเริ่มต้นเพื่อแลกกับสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจเหล่านั้น

โดยรวมแล้วมีหุ้นไทยหลายประเภทสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตลาดหุ้นไทย การทำความเข้าใจประเภทของหุ้นประเภทต่างๆ และวิธีการทำงานของหุ้น นักลงทุนสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเมื่อลงทุนในตลาดหุ้นไทย

หุ้นไทยมีกี่ประเภท

หุ้นไทยมีกี่ประเภท แบ่งตามกลุ่ม ได้ดังนี้

การที่คุณจะเล่นเริ่ม เปิดพอร์ตหุ้น ตัวใดตัวหนึ่งนั้นคุณควรคำนึงว่าคุณและหุ้นตัวที่นักลงทุนเทรดมีสไตล์เดียวกันหรือไม่ วันนี้ foontic จะพาคุณไปรู้จักประเภทของหุ้นกันว่า

ประเภทหุ้น Blue Chip

หุ้นประเภทนี้มีลักษณะเป็นกิจการขนาดใหญ่ ที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง ผลดำเนินงานดีสม่ำเสมอ จ่ายปันผลต่อเนื่อง และส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่อยู่ในตลาดมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ เช่น บ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หรือธนาคารใหญ่ๆ เช่น ธ.กรุงเทพ (BBL) ธ.กสิกรไทย (KBANK) ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB) และหุ้นใหญ่ที่มี Brand เข้มแข็งอื่นๆ เช่น CPF และหุ้นในกลุ่ม PTT เป็นต้น

ประเภทหุ้น Growth Stock

ลักษณะของธุรกิจที่ยังอยู่ในช่วงการเติบโตได้ต่อเนื่อง ตลาดยังไม่อิ่มตัว มีคู่แข่งขันทางธุรกิจน้อยราย ผลดำเนินงานเติบโตเร็วแบบต่อเนื่องทั้งยอดขายและผลกำไร แต่อาจจะมีอัตราจ่ายปันผลต่ำเมื่อเทียบกับผลกำไรที่ทำได้ (Payout Ratio) เนื่องจากต้องกันเงินบางส่วนเพื่อไปลงทุนต่อ หุ้นในกลุ่มนี้มักจะมีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) และ P/E ที่สูง

ประเภทหุ้น ที่เป็นวัฏจักร (Cyclical Stock)

เป็นลักษณะของธุรกิจที่ราคาสินค้าผันผวนขึ้นลงมากๆ ตามวัฎจักร Demand & Supply หรืออาจมีความต้องการเฉพาะในช่วงสั้นๆ เช่น ตามฤดูกาล ตามสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างจาก Growth Stock ตรงที่ธุรกิจของ Growth Stock จะเติบโตเร็วอย่างต่อเนื่อง หุ้นที่เป็นวัฏจักรมักจะมีผลกำไรผันผวนมากจุดสูงสุดและต่ำสุดในช่วงวัฏจักรต่างกันหลายเท่าตัวช่วงต่ำสุดอาจถึงขั้นขาดทุน ในรอบวัฏจักรจะกินเวลาหลายๆ ปี (ไม่ใช่ฤดูกาลในรอบ 1 ปี) ธุรกิจที่เป็นวัฏจักร เช่น ปิโตรเคมี, พืชผลต่างๆ, เดินเรือ, โรงกลั่นน้ำมัน, ถุงมือยาง เป็นต้น

ประเภทหุ้น Value Stock

หุ้นกลุ่มนี้มีลักษณะธุรกิจที่มีผลดำเนินงานดี และมีแนวโน้มอนาคตที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจใหญ่ ราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าทางทฤษฎีมาก จึงมี P/E ต่ำ, P/BV ต่ำถึงปานกลาง ในอดีตคงหาหุ้น Value Stock ได้ง่าย แต่ปัจจุบันจากการที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้นมามาก และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจทำให้หุ้นบางตัวที่ดูเหมือนหุ้น Value Stock ความเป็นจริงอาจไม่ใช่ก็ได้

ประเภทหุ้น Dividend Stock

มีลักษณะเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนเงินปันผลสูง (Dividend Yield) มักเป็นหุ้นกิจการที่ไม่ใหญ่มากนัก จึงไม่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนเท่าไหร่ ผลตอบแทนปันผลจึงสูงอาจเป็นหุ้นที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่ได้ขยายตัวสูงมาก จึงไม่ต้องใช้เงินสดเพื่อลงทุนขยายงานต่อมากนัก จึงสามารถนำมาจ่ายปันผลได้มาก หุ้นกลุ่มนี้มักจะจ่ายปันผลเฉลี่ยน 5% ขึ้นไปและจะต้องจ่ายปันผลต่อเนื่อง

ประเภทหุ้น Defensive Stock

มีลักษณะเป็นหุ้นที่อยู่ในธุรกิจที่ไม่ค่อยผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ยามเศรษฐกิจดี ธุรกิจของ Defensive จะได้ประโยชน์น้อยกว่าหุ้นอื่น แต่ยามเศรษฐกิจแย่ ธุรกิจของ Defensive ก็ได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มักเป็นหุ้นที่มีคู่แข่งน้อยราย หากมองภาพง่ายๆจะเป็นหุ้นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศกลุ่มสาธารณูปโภค เช่น หุ้นโรงไฟฟ้า เป็นต้น

Speculative Stock (หุ้นเก็งกำไร)

มีลักษณะเป็นหุ้นที่มีพฤติกรรมราคาผันผวนขึ้นและลงครั้งละมากๆ มีสภาพคล่องของการซื้อขายสูง มีจำนวนหุ้นเยอะ มักเป็นหุ้นที่มีความไม่แน่นอนของธุรกิจสูง มักมีทั้งข่าวจริงและข่าวลือเพื่อให้นักลงทุนแห่เข้าซื้อขายกันอย่างคึกคัก หุ้นประเภทนี้มีทั้งประเภทที่อยู่เป็นขาประจำ และขาจร หุ้นในกลุ่มนี้มีทั้งหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง และหุ้นขนาดเล็ก

หุ้นทั้ง 7 ประเภท นี้มีความแตกต่างกันดังนั้นนักลงทุนในการ เล่นหุ้น อาจจะมีความถนัดในการเทรดหุ้นแต่ละประเภทที่แตกต่างกันไป โดยหุ้นที่อยู่ใน 7 ประเภทนี้บางตัวอาจจะให้ทาง foontic ช่วยให้นักลงทุน สามารถเพิ่มผลตอบแทนได้มากขึ้นอย่างไรก็ดีนักลงทุนควรวางแผนให้ชัดเจนก่อนการลงทุนทุกครั้ง

Home
ติดต่อสอบถาม
Article